ภาพ“เมธีร้อยสำนัก(诸子百家)”
ยุคชุนชิว(春秋)และจั้นกั๋ว(战国)ถือเป็นสมัยแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ทางด้านประวัติศาสตร์จีน การปฏิรูปครั้งใหญ่ทางสังคมทำให้เกิดความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมขึ้น
ขงจื๊อ(孔子) เล่าจื๊อ(老子) จวงจื๊อ(庄子)
เมิ่งจื๊อ(孟子) สวินจื๊อ(荀子) โม่จื๊อ(墨子) หานเฟยจื๊อ(韩非子)
ในช่วงเวลาที่ว่านี้ มีนักคิดผู้ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น ขงจื๊อ(孔子) เล่าจื๊อ(老子) จวงจื๊อ(庄子)เมิ่งจื๊อ(孟子) สวินจื๊อ(荀子) โม่จื๊อ(墨子) และหานเฟยจื๊อ(韩非子) ฯลฯ พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมในสมัยนั้นโดยมองจากมุมมองและจุดยืนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดสำนักต่าง ๆ ซึ่งถือเอาความคิดของสำนักเต๋า(道家) สำนักขงจื๊อ(儒家) สำนักโม่(墨家) และสำนักฝ่า(法家) เป็นหลัก ในทางประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า “เมธีร้อยสำนัก(诸子百家)”
หินแกะสลักคัมภีร์เต้าเต๋อจิง(道德经)บนภูเขาเหลาซาน(崂山) คัมภีร์เต้าเต๋อจิง(道德经)ในรูปแบบหนังสือ
มณฑลซานตง(山东)
เล่าจื๊อเป็นผู้ก่อตั้งสำนักเต๋า แต่งตำราชื่อว่า “เต้าเต๋อจิง(道德经)”เขาเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีสิ่งตรงกันข้าม เช่น ภัยและโชค มีและไม่มี เกิดและดับ สูงส่งและต้อยต่ำ บนและล่าง เข้มแข็งและอ่อนแอ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปได้ สำนักเต๋านี้ยังมีบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งคือ “จวงโจว(庄周)” หรือเรียกกันว่า “จวงจื๊อ(庄子)” เขาแต่งตำราชื่อว่า “จวงจื๊อ(庄子)” ในตำราเล่มนี้มีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ จวงจื๊อได้ถ่ายทอดความคิดเคารพธรรมชาติผ่านทางเรื่องประมาณเหล่านี้
ตำราชื่อว่า “จวงจื๊อ(庄子)” ตำรา “หานเฟยจื๊อ(韩非子)”
โม่จื๊อเป็นผู้ก่อตั้งสำนักโม่ เป็นผู้เสนอความคิดประหยัดมัธยัสถ์(节约) ต่อต้านความฟุ่มเฟือย เสนอให้เลือกผู้ที่มีคุณธรรมและมีความสามารถเป็นขุนนาง เรียกร้องให้ผู้คนปรองดองกัน และต่อต้านสงคราม
บุคคลที่สำคัญที่สุดของสำนักฝ่าคือหานเฟย เขาแต่งตำรา “หานเฟยจื๊อ(韩非子)” เสนอหลัก “ใช้กฎหมายปกครองบ้านเมือง(法治)” โดยเห็นว่าควรจะประกาศใช้กฎหมายทั่วทั้งประเทศ ทั้งขุนนางและประชาชนจำเป็นต้องเคารพกฏหมายอย่างเคร่งครัด เขายังให้ความสำคัญกับการใช้บทลงโทษที่รุนแรงเพื่อควบคุมการต่อต้านจากประชาชน นอกจากนี้ เขายังเสนอให้มีการปฏิรูป และสถาปนาประเทศโดยใช้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(君主专制的中央集权) จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)ได้รับเอาความคิดของหานเฟยจื๊อมาใช้ในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น