วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หวีผู้ยิ่งใหญ่แก้ปัญหาน้ำท่วม

         
                            หวี่ผู้ยิ่งใหญ่ แก้ปัญหาน้ำท่วม
          กล่าวกันว่าหลังจากสมัยของพระเจ้าหวง(黄帝) มีผู้นำของกลุ่มเผ่าชนที่มีชื่อเสียงอยู่ 3 คนปรากฏขึ้น คือ พระเจ้าเหยา() พระเจ้าซุ่น() และพระเจ้าหวี่() กล่าวกันว่าในสมัยของพระเจ้าเหยานั้น แม่น้ำเหลือง(黄河)เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนระแวกนั้นเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้คนต้องหนีไปอยู่บนต้นไม้และยอดเขา น้ำท่วมได้นำความวิบัติอย่างร้ายแรงมาสู่ชาวบ้าน ในขณะนั้น พระเจ้าเหยาซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเผ่าชนของพระเจ้าเหยียน(炎帝) และพระเจ้าหวง ได้ทรงรับสั่งให้ “กุ่น()” เป็นผู้แก้ปัญหาน้ำท่วม กุ่นใช้วิธีสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม แต่กลับไม่ได้ผล หลังจากพ้นยุคของพระเจ้าเหยา พระเจ้าซุ่นซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มเผ่าชนทรงประหารชีวิตกุ่น และทรงรับสั่งให้ “หวี่()” ผู้เป็นบุตรชายของกุ่น แก้ปัญหาน้ำท่วมต่อจากบิดา หวี่ได้รับบทเรียนจากบิดา เขาปรับเปลี่ยนเป็นวิธีขุดลอกคูคลองแก้ปัญหาน้ำท่วมแทน โดยให้น้ำท่วมขึ้นมาไหลผ่านไปตามแม่น้ำออกสู่ทะเล หวี่ตรากตรำทำงานอย่างหนัก ตำนานกล่าวไว้ว่า เขาทำงานแก้ปัญหาน้ำท่วมอยู่ข้างนอกเป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี ในช่วงเวลานี้ เขาผ่านหน้าบ้าน 3 ครั้ง แต่ไม่เคยแวะเข้าไปทักทายคนในบ้านสักครั้งเดียว สุดท้าย หวี่ก็แก้ปัญหาน้ำท่วมได้สำเร็จ ผู้คนจึงสรรเสริญความดีในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของหวี่ โดยยกย่องให้เป็นหวี่ผู้ยิ่งใหญ่
          เนื่องจากหวี่แก้ปัญหาน้ำท่วมได้สำเร็จ ได้รับความนิยมชมชอบจากราษฎรเป็นอย่างมาก พระเจ้าซุ่นจึงทรงตัดสินพระทัยให้หวี่เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ ผู้นำของแต่ละชนเผ่าล้วนเห็นด้วยกับซุ่น หลังจากที่พระเจ้าซุ่นสิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าหวี่ก็ขึ้นเป็นผู้นำของกลุ่มเผ่าชนแทน ในขณะนั้นปัญหาน้ำท่วมเพิ่งสงบลง ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ แต่มีสัตว์ป่าซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้คน พระเจ้าหวี่จึงทรงส่งคนไปสอนชาวบ้านเพาะปลูก เก็บเกี่ยวพืชผล หลังจากนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็เริ่มมั่นคงปลอดภัย พระเจ้าหวี่ได้ทรงทำสงครามกับชนชาติแม้ว เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เข้ามารุกรานบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ซึ่งส่งผลให้ชนชาติหัวเซี่ย(华夏)ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณที่ราบตอนกลางมีความมั่นคงถาวร หลังจากสมัยของพระเจ้าหวี่ อำนาจของผู้นำกลุ่มเผ่าชนก็เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
          ประมาณ 2,070 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าหวี่ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์เซี่ย ถือเป็นราชวงศ์แรกของประวัติศาสตร์จีน หลังจากที่พระเจ้าหวี่สิ้นพระชนม์ลง “ฉี่()” โอรสของพระเจ้าหวี่ได้สืบทอดตำแหน่งต่อ ซึ่งทำให้เผ่าชน “โหย่วฮู่ซื่อ(有扈氏)” ลุกฮือต่อต้าน การที่ฉี่สามารถรบชนะเผ่าชนโหย่วฮู่ซื่อได้ ทำให้ทุกชนเผ่ายอมรับในตำแหน่งของเขา และต่อจากนี้การสืบทอดราชบัลลังค์โดยสายโลหิตก็ได้เข้ามาแทนที่ระบอบยกตำแหน่งให้แก่ผู้ที่มีความสามารถ
                         
                                          พระเจ้าเจี๋ย(桀)
         กษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ย(夏朝) เริ่มจากพระเจ้าหวี่ สิ้นสุดที่พระเจ้าเจี๋ย() มีกษัตริย์ทั้งหมด 17 พระองค์ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 471 ปี ชาวเซี่ยได้ใช้ปฏิทินซึ่งคิดค้นขึ้นมาเอง และเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมเป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ ชาวเซี่ยยังสร้างเครื่องทองสัมฤทธิ์(铜鼎)โดยเลียนแบบรูปร่างของสัตว์ ทำให้ประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนจากยุคหินมาเป็นยุคทองสัมฤทธิ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เซี่ยคือ “พระเจ้าเจี๋ย” พระเจ้าเจี๋ยทรงเป็นกษัตริย์ทรราชย์ ทรงปกครองประเทศอย่างเลวร้าย ในขณะนั้น แคว้นซังซึ่งอยู่ตอนล่างของแม่น้ำเหลืองมีอำนาจเข้มแข็งเป็นอย่างมาก ได้ยกทัพมาปราบเซี่ย และได้สถาปนาราชวงศ์ซัง(商朝)ประมาณก่อน ค.ศ.1,600 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น