วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จิ๋นซีฮ่องเต้ พระจักรพรรดิองค์แรกของจีน

          
         แคว้นจิ๋นหรือแคว้นฉิน()เพิ่งได้รับการมอบที่ดินและตั้งเป็นแคว้นจิ๋นเมื่อปี 770 ก่อนคริสต์ศักราช โดยตั้งอยู่ทางตะวันตกของจีน ในขณะนั้นแคว้นจิ๋นมีอาณาเขตน้อย อำนาจแห่งแคว้นไม่เข้มแข็ง เพราะฉะนั้นจึงถูกบรรดาผู้ครองแคว้นบริเวณที่ราบตอนกลางดูถูกเรื่อยมา ทว่าตั้งแต่ได้ดำเนินการปฏิรูปซังยัง(商鞅)เป็นต้นมา อำนาจแห่งแคว้นก็เริ่มเข้มแข็งขึ้น และได้ก้าวขึ้นเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่ในเจ็ดแคว้นแห่งยุคจั้นกั๋ว(占国七雄中的强国) อย่างรวดเร็ว เมื่อพระเจ้าอิ๋งเจิ้ง(赢政)ได้ขึ้นปกครองแคว้น ก็ได้เปิดศึกสงครามขนาดใหญ่ พระเจ้าอิ๋งเจิ้งได้ทรงเริ่มทำสงครามกับแคว้นอื่น ๆ  ตั้งแต่ปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช ภายในระยะเวลา 10 ปี พระองค์ได้ทรงปราบแคว้นหาน() แคว้นจ้าว() แคว้นเว่ย() แคว้นฉู่() เคว้นเยียน() และแคว้นฉี(และในปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชก็ได้ทรงรวมหกแคว้นนี้ให้เป็น 1 เดียว
          พระเจ้าอิ๋งเจิ้งทรงหวังว่าอำนาจการปกครองของจิ๋นจะสามารถคงอยู่ตลอดไป จึงได้ขนานนามตนเองว่า “ปฐมจักรพรรดิ(始皇帝) ผู้ที่จะมาสืบต่อตำแหน่งก็จะขนานนามว่ารัชกาลที่ 2(二世)  รัชกาลที่ 3(三世)   จนกระทั้งรัชกาลที่พันที่หมื่น ดังนั้นในทางประวัติศาสตร์จึงขนานนามพระเจ้าอิ๋งเจิ้งว่า “จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)” (ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ๋น) (ปี 259 ก่อนคริสต์ศักราช – ปี 210 ก่อนปีคริสต์ศักราช)
          หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงรวมจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงดำเนินนโยบายจำนวนมากในการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและเป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับส่วนกลางได้มีการจัดตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ  เช่น เฉิงเซี่ยง(丞相) ยวี่สื่อต้าฟู(御史大夫) และไท่เว่ย(太尉)ฯลฯ เฉิงเซี่ยง มีหน้าที่ช่วยเหลือพระมหากษัตริย์บริหารประเทศ ยวี่สื่อต้าฟูรับผิดชอบตรวจสอบบรรดาขุนนางทุกระดับ ไท่เว่ยดูแลการทหาร โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจแต่งตั้งและยกเลิกตำแหน่งขุนนางเหล่านี้ ในส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น ได้ยกเลิกระบอบแบ่งที่ดินซึ้งใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง()และราชวงศ์โจว() แต่ใช้ระบอบปกครองตาม “จวิ้น()”(จังหวัด) “เสี้ยน()”(อำเภอ) แทน กล่าวคือ ทั้งประเทศแบ่งออกเป็น 36 จังหวัด (ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 40 กว่าจังหวัด) รองจากจังหวัดก็เป็นอำเภอ มีขุนนางปกครองดูแลชาวบ้านเรียกว่า “จุ้นโส่ว(郡守)”  (ผู้ว่าราชการจังหวัด) “เสี้ยนลิ่ง(县令)”(นายอำเภอ) พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจแต่งตั้งและยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ อำนาจการปกครองทั้งประเทศจึงตกอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นหนึ่ง พระองค์ได้ทรงบังคับใช้กฎหมายของแคว้นจิ๋นที่มีอยู่เดิมกับทุกพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้กฎหมาย(法律)ของทั้งประเทศรวมเป็นหนึ่งเดียวกับกฎหมายของแคว้นจิ๋นในยุคจั้นกั๋ว ระบบมาตรการชั่งวัดตวง(度量衡)ให้เหมือนกันทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการวัด(长度) การตวง(容量) การชั่ง(重量) ล้วนมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ราชวงศ์จิ๋นยังออกบัญญัติใช้เงินตราสกุลเดียวกัน(统一货币) รัฐบาลจิ๋นได้ประกาศให้ใช้เงินของแคว้นจิ๋น ซึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลมและมีรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางเป็นเงินของประเทศ นโยบายนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของชนชาติต่าง ๆ  ทั่วประเทศและในสมัยราชวงศ์ต่อ ๆ มา ก็ล้วนใช้เงินทองสัมฤทธิ์(铜钱)ตามแบบอย่างของราชวงศ์จิ๋นทั้งสิ้น
    
                            ตัวอย่างเงินทองสัมฤทธิ์สมัยราชวงศ์จิ๋น
          จิ๋นซีฮ่องเต้ยังทรงประกาศให้ปรับตัวอักษรจีนให้เป็นแบบเดียวกัน(统一文字)ทั้งประเทศ ยึดเอาตัวอักษรแบบ “เสี่ยวจ้วน(小篆)” ซึ่งได้ผ่านการย่อมาแล้วให้เป็นแบบอักษรมาตรฐานใช้ทั่วประเทศ ต่อมาก็มีแบบอักษรที่เขียนง่ายกว่าเสี่ยวจ้วนเกิดขึ้นอีก เรียกว่า“ลี่ซู    (隶书)” สำหรับแบบตัวอักษร “ไข่ซู(楷书)” (ตัวอักษรมาตรฐาน) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็ได้พัฒนามาจากลี่ซูนี้เอง การปรับตัวอักษรจีนให้เป็นแบบเดียวกันทั้งประเทศนั้นได้เร่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
    
                             ตัวอักษรแบบ “เสี่ยวจ้วน(小篆)”
        
                             แบบอักษร “ลี่ซู    (隶书)”
      
                                  แบบตัวอักษร “ไข่ซู(楷书)”
          ในปี 213 ก่อนคริสต์ศักราช อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือ(李斯)คิดว่าเมื่อชาวบ้านได้อ่านหนังสือเก่า ๆ แล้ว ก็จะใช้ความคิดต่าง ๆ ในหนังสือมาวิจารณ์เหตุการณ์ในขณะนั้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปกครองของราชสำนัก เขาจึงเสนอหนังสือที่ชาวบ้านจะเก็บไว้ได้ คือ หนังสือด้านการแพทย์และยา(医药) หนังสือด้านการป่าไม้และเกษตร(种植) ฯลฯ นอกเหนือจากหนังสือประเภทดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะหนังสือประวัติศาสตร์ของแคว้นต่าง ๆ และหนังสือของปราชญ์เมธี จำเป็นต้องนำไปเผาทิ้งทั้งหมด จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงดำเนินการตามข้อเสนอของเขา ในปีต่อมา ปัญญาชนบางคนได้วิจารณ์กันอย่างลับ ๆ เกี่ยวกับการกระทำอันไม่สมเหตุสมผลของจิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อทรงทราบดังนั้น จิ๋นซีฮ่องเต้จึงได้ทรงรับสั่งตามจับปัญญาชนพวกนั้น ซึ่งภายหลังจับมาได้ 460 กว่าคน ในที่สุดก็ได้ลงโทษโดยการฝั่งทั้งเป็น เหตุการณ์ทั้งสองเรื่องนี้ ทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “เผาหนังสือ ฝังปัญญาชน(焚书坑儒)”
      

                                อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือ(李斯)
          จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงส่งเหมิงเถียน(蒙恬) นำกองทัพไปปราบชนชาติซงหนู(匈奴) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงออกคำสั่งให้สร้างกำแพงเมืองจีน(长城)เพื่อป้องกันชนชาติซงหนูกลับมาโจมตีชายแดนอีกรอบ และทำให้ชนชาติเย่ว์(越族)ในตอนใต้ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของจิ๋น ซึ่งส่งผลให้การไปมาหาสู่ระหว่างชนชาติขยายขอบเขตมากขึ้น
              

                                   เหมิงเถียน(蒙恬)
         การที่จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้รวมจีนเป็นหนึ่ง ทำให้ภาวการณ์แย่งอำนาจของบรรดาผู้ครองแคว้นซึ่งกินเวลามายาวนานได้สิ้นสุดลง และยังสถาปนาประเทศจีนซึ่งเป็นสังคมศักดินาและมีหลากหลายชนชาติรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน ดินแดนของอาณาจักรสมัยราชวงศ์จิ๋นกินพื้นที่ ทางตะวันออกไปถึงทะเล ทางตะวันตกไปถึงฝั่งตะวันตกของมณฑลกานซู ทางเหนือไปถึงบริเวณกำแพงเมืองจีน และทางใต้ไปถึงทะเลใต้ มีประชากรทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น