张骞 จางเชียน
ย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น(汉代) ของจีนซึ่งห่างจากปัจจุบันกว่า 2000 ปี ท่ามกลางเสียงกระดิ่งอูฐอันไพเราะจับใจระหว่างเส้นทางสายไหม(丝绸之路) ประเทศจีนได้ผูกความสัมพันธ์กับชนชาติต่าง ๆ ในดินแดนตะวันตกอย่างกว้างขวาง อารยธรรมตะวันออกกับอารยธรรมตะวันตก(中西文明)เริ่มมีการสัมผัสและผสมผสานกัน ครั้นรัชสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝) ชนเผ่าซงหนู(匈奴)จากทางเหนือของจีนมารุกรานชายแดนจีนเสมอ และยังได้ควบคุมประเทศเล็ก ๆ ในดินแดนตะวันตกถึงหลายสิบประเทศ 138ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ได้ทรงส่งจางเชียน(张骞)นำคณะราชทูตจำนวน 100 คน ไปเยือนประเทศทางทิศตะวันตก(出使西域)ของจีน โดยติดต่อกับประเทศต้าเอวี้ยจือ(大月氏) เพื่อโจมตีชนเผ่าซงหนูทั้งข้างซ้ายและข้างขวา แต่พอจางเชียนเดินทางออกจากชายแดนก็ถูกชนเผ่าซงหนูจับกุม หัวหน้าเผ่าซงหนู่พอทราบวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปยังเขตตะวันตกในครั้ง นี้แล้ว จึงสั่งให้กักตัวจางเชียนพร้อมกับคณะและส่งตัวไปใช้แรงงานเป็นกุลี นอกจากนี้ยังจัดการหาภรรยาให้จางเชียนเพื่อที่จะให้จางเชียนเลิกล้มความ ตั้งใจเสีย แต่ว่าจางเชียนไม่เคยลืมภาระหน้าที่ของตนและไม่เคยละทิ้งความพยายาม ในระหว่างเวลาที่ถูกจับกุม เขาได้เรียนรู้ภาษาซงหนูและรู้จักสภาพทางภูมิศาสตร์ของซงหนูหลังจากที่ถูกซงหนูกักตัวเป็นเวลานานถึง 11 ปี จนฝ่ายซงหนูคลายความระวังเข้มงวด จางเชียนเห็นได้จังหวะ ก็นำสมาชิกในคณะหลบหนี พวกเขาเดินทางผ่านเขตของสาธารณรัฐอุซเบกิสถานในปัจจุบันไปจนถึงเขตของประเทศ เผ่าชนต้าเอวี้ยจือในที่สุด ต่อมา เมื่อรู้ว่ากษัตริย์ต้าเอวี้ยจือไม่อยากแก้แค้นชนเผ่าซงหนู จางเชียนจึงตัดสินใจกลับประเทศจีน 100 คนที่เดินทางไปพร้อมกับจางเชียนเหลือกลับถึงเมืองฉางอาน(长安)เพียง 2 คน
พระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝)
จางเชียนเดินทางไปยังดินแดนตะวันตก
จางเชียนเกิดในมณฑลส่านซี เป็นคนซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ และเป็นคนที่มีจิตใจชอบการผจญภัย งานการทูตครั้งนี้นับว่าเป็นงานที่มีความยากลำบาก เพราะว่าต้องผ่านเขตของเผ่าชนซงหนูที่เป็นอริกับจีนและดินแดนทุรกันดารต่างๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศอันเลวร้าย ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไปจะสามารถทำได้
119 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ฮั่นอู่ตี้ทรงส่งจางเชียนไปเยือนดินแดนตะวันตกอีกครั้งโดยมีผู้ติดตาม 300 คนพร้อมทั้งวัวกับแพะกว่าหมื่นตัวและสินค้าต่าง ๆ ด้วย จางเชียนกับคณะราชฑูตได้เยือนประเทศต่าง ๆ มากมาย ประเทศเหล่านี้ก็ได้ส่งคณะฑูตนำของขวัญมาเยือนประเทศจีนด้วย ตั้งแต่นั้นมา การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ฮั่นกับประเทศดินแดนตะวันตกนับวันจะบ่อยครั้งยิ่งขึ้น ต่อมา ราชวงศ์ฮั่นได้จัดตั้งซีหยู้ตูหู้ฝู่(西域部护府)ที่เขตซินเจียง(新疆)ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่ขึ้นต่อรัฐบาลกลาง(中央政府) โดยมีหน้าที่ดูแลกิจการงานเกี่ยวกับประเทศดินแดนตะวันตก
การที่จางเชียนออกราชทูตถึงดินแดนตะวันตกนั้นได้บุกเบิกเส้นทางสายไหมที่ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและโลกตะวันตก เส้นทางสายไหมเริ่มจากเมืองฉางอานในทิศตะวันออก ไปยังทิศตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน(中海东岸)ท้ายสุดไปถึงจักรวรรดิโรมัน(罗马帝国) กองคาราวานของราชวงศ์ฮั่น(汉朝的商队)ได้นำสิ่งทอด้วยไหมจีนไปแลกเปลี่ยนกับชาวเปอร์เซีย(波斯人) ชาวอินเดีย(印度人)และชาวโรมัน(罗马人) และได้นำสินค้าต่างประเทศ เช่นวอลนัต(核桃) องุ่น(葡萄) แครอท(胡萝卜) ฯลฯ กลับมายังประเทศจีน หลายศตวรรษต่อจากนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและโลกตะวันตกโดยการค้าผ้าไหมเป็นหลักส่วนมากดำเนินผ่านทางเส้นทางสายไหม นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมกับโลกซีกตะวันตกมากยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยให้พุทธศาสนาแพร่เข้าสู่จีนในเวลาต่อมา จางเชียนเป็นผู้บุกเบิกยุคแห่งการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตก ผู้คนยังคงกล่าวขวัญและนับถือจิตใจอันสูงส่งของจางเชียนที่แม้จะผ่านความยาก ลำบากสุดประมาณแต่ก็ไม่ย่อท้อกลับมีแต่ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ไม่หวั่นไหว
** เส้นทางสายไหม (“丝绸之路”)
คำว่า”เส้นทางสายไหม” เพิ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการในกลางศตวรรษที่ 19 โดยนัก
ปราชญ์ชาวเยอรมัน นาม Baron Ferdinand von Richthofen เป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่น อย่างเส้นทางหยก เส้นทางอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น เส้นทางนี้ เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอัน หรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)เส้นทางบนบกนั้น แนวเส้นทางหลัก ๆเฉพาะในประเทศจีนแยกเป็นสามเส้นทาง และจากเมืองหลักของแต่ละเส้นทางจะมีเส้นทางแยกย่อยออกไปเหมือนเครือข่ายใยแมงมุมซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วัฒนธรรมในแต่ละยุค แต่เส้นทางในประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเส้นทางทางเหนือจากซีอันสู่ระเบียงเหอซี ก่อนแยกไปทางรัสเซีย อินเดีย และตะวันออกกลาง
ปราชญ์ชาวเยอรมัน นาม Baron Ferdinand von Richthofen เป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่น อย่างเส้นทางหยก เส้นทางอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น เส้นทางนี้ เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอัน หรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)เส้นทางบนบกนั้น แนวเส้นทางหลัก ๆเฉพาะในประเทศจีนแยกเป็นสามเส้นทาง และจากเมืองหลักของแต่ละเส้นทางจะมีเส้นทางแยกย่อยออกไปเหมือนเครือข่ายใยแมงมุมซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วัฒนธรรมในแต่ละยุค แต่เส้นทางในประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเส้นทางทางเหนือจากซีอันสู่ระเบียงเหอซี ก่อนแยกไปทางรัสเซีย อินเดีย และตะวันออกกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น