วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ห้ามหาราชแห่งยุคชุนชิว

   (图)宋襄公头像 
        พระเจ้าฉีหวนกง(齐桓公)                 พระเจ้าซ่งเซียงกง(宋襄公)                พระเจ้าจิ้นเหวินกง(晋文公)   
                                   
                    พระเจ้าฉิน(จิ๋น)มู่กง (秦穆公)                        พระเจ้าฉู่จวงหวัง (楚庄王)
          ในช่วงต้นของยุคชุนชิว(春秋) มีแคว้นทั้งหมด 100 กว่าแคว้น แต่ละแคว้นได้เปิดศึกรบฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิงดินแดนและประชากร เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมาก บรรดาแคว้นที่มีอำนาจมากได้ทำการรวมแคว้นเล็ก ๆ ที่ไม่มีอำนาจอย่างต่อเนื่อง และพยายามแย่งชิงอำนาจมหาราชา ในยุคชุนชิวมีมหาราชาตามลำดับก่อนหลังคือ
1.    พระเจ้าฉีหวนกง        (齐桓公)
2.    พระเจ้าซ่งเซียงกง      (宋襄公)
3.    พระเจ้าจิ้นเหวินกง     (晋文公)
4.    พระเจ้าฉิน(จิ๋น)มู่กง    (秦穆公)
5.    พระเจ้าฉู่จวงหวัง       (楚庄王)

ทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “ห้ามหาราชาแห่งยุคชุนชิว(春秋五)” แต่มีคนกล่าวว่า “ห้ามหาราชาแห่งยุคชุนชิว” หมายถึง
1.    พระเจ้าฉีหวนกง        (齐桓公)
2.    พระเจ้าจิ้นเหวินกง     (晋文公)
3.    พระเจ้าฉู่จวงหวัง       (楚庄公)
4.    พระเจ้าเหอลวี๋แห่งแคว้นอู๋     (吴王阖闾)
5.    พระเจ้าโกวเจี้ยนแห่งแคว้นเอวี้ย (越王勾践)
           
             พระเจ้าเหอลวี๋แห่งแคว้นอู๋ (吴王阖闾)            พระเจ้าโกวเจี้ยนแห่งแคว้นเอวี้ย (越王勾践)
แคว้นฉี(齐国)เป็นแคว้นที่ร่ำรวยทางตะวันออกในยุคชุนชิว พระเจ้าฉีหวนกง(齐桓公)ได้ทรงปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของแคว้นตนโดยได้รับความช่วยเหลือจาก “กว่านจ้ง(管仲)” นักการเมืองการปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ทรงพัฒนาการผลิตทำให้แคว้นฉีเข้มแข็งขึ้น พระเจ้าฉีหวนกงทรงนำทัพขับไล่พวกชนกลุ่มน้อย เช่นซานหรง(山戎) และยังทรงนำทัพของแปดแคว้น เช่น แคว้นฉี() แคว้นหลู่() แคว้นซ่ง() ฯลฯ ไปปราบแคว้นฉู่()ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบตอนกลาง ขัดขวางไม่ให้แคว้นฉู่รุกมาทางเหนือ ทำให้มีอำนาจเพิ่มขึ้น 651 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าฉีหวนกงได้ทรงเชิญผู้ครองแคว้นต่าง ๆ มาร่วมลงนามในสัญญาสถาปนาสหพันธรัฐ กษัตริย์แห่งโจว(周天子)ก็ส่งคนมาร่วมด้วยยุคของแคว้นฉีมหาราชาแห่งที่ราบตอนกลางก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา
          
                กว่านจ้ง(管仲)                                         ชนกลุ่มน้อย ซานหรง(山戎)
     หลังจากของพระเจ้าฉีหวนกง พระเจ้าซ่งเซียงกง(宋襄公)ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นที่จะขึ้นเป็นมหาราชาต่อจากพระเจ้าฉีหวนกงให้ได้ ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากที่พระเจ้าจิ้นเหวินกง(晋文公)ทรงขึ้นเป็นผู้ครองแคว้น พระองค์ได้ทรงทำให้แคว้นจิ้นกลายเป็นแคว้นที่มีอำนาจทางเหนืออย่างรวดเร็ว ในขณะนั้นแคว้นฉู่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ก็อยากขึ้นเป็นมหาราชา ในปี 632 ก่อนคริสต์ศักราช แคว้นจิ้นและแคว้นฉู่เปิดศึกรบครั้งใหญ่ กองทัพฉู่แพ้อย่างราบคาบ พระเจ้าจิ้นเหวินแห่งแคว้นจิ้น(晋国)จึงได้ทรงขึ้นเป็นมหาราชาแห่งที่ราบตอนกลางนับจากนั้นเป็นต้นมา การแย่งชิงอำนาจมหาราชาระหว่างแคว้นจิ้นและแคว้นฉู่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี สุดท้ายพระเจ้าฉู่จวงหวังก็ทรงสามารถรบชนะกองทัพจิ้นได้ และขึ้นเป็นมหาราชาแห่งที่ราบตอนกลางส่วนพระเจ้าฉินมู่กง(秦穆公)นั้น เดิมทีทรงคิดอยากจะขยายอำนาจไปทางตะวันออก ขยายไปถึงที่ราบตอนกลาง ขึ้นเป็นมหาราชาแต่ไม่สำเร็จ จึงทรงเปลี่ยนไปขยายอำนาจทางตะวันตก นับว่าเป็นมหาราชาตะวันตก
          แคว้นอู๋(吴国)และแคว้นเอวี้ย(越国) ล้วนเป็นแคว้นที่อยู่ตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง(长江) ทั้งสองแคว้นนี้เป็นแคว้นที่ไม่ค่อยใหญ่ แต่ก็ได้ร่วมศึกชิงอำนาจแห่งมหาราชานี้ด้วย ในช่วงที่แคว้นจิ้นและแคว้นฉู่รบชิงอำนาจมหาราชานั้น แคว้นอู๋ได้ตีเมืองหลวงของแคว้นฉู่แตกโดยได้รับการสนับสนุนจากแคว้นจิ้น หลังจากนั้นแคว้นอู๋และแคว้นเอวี้ยได้เปิดศึกรบกันหลายครั้ง สลับกันแพ้ชนะ ในปี 494 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าฟูไชแห่งแคว้นอู๋ทรงรบชนะแคว้นเอวี้ย แคว้นเอวี้ยจึงตกเป็นแคว้นในการปกครองของแคว้นอู๋หลังจากที่เตรียมการอย่างลำบากยิ่งเป็นระยะเวลา 10 ปี พระเจ้าโกวเจี้ยน(勾践)แห่งแคว้นเอวี้ยก็ทรงสามารถปราบแคว้นอู๋ได้ในที่สุด ต่อมาพระเจ้าโกวเจี้ยนก็ได้ทรงนำทัพขึ้นไปบุกทางเหนือ และทรงกลายเป็นมหาราชาองค์สุดท้ายในยุคชุนชิว
                  
                                               แผนที่ยุคชุนชิว
          ในช่วงเวลานี้ กรีก(希腊)ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรป(欧洲)ได้ปรากฏประเทศนครรัฐ(城邦国家)อย่างแพร่หลาย สิ่งที่ไม่เหมือนกันกับแคว้นต่าง ๆ ในยุคชุนชิวของจีนก็คือ การเมืองการปกครองของประชาชนในนครรัฐทวีปยุโรปได้พัฒนาไปอย่างเต็มที่แล้ว อำนาจของกษัตริย์ค่อย ๆ เสื่อมลง นครรัฐจำนวนมากได้ยกเลิกระบอบกษัตริย์และได้สถาปนาสาธารณรัฐ(共和)ขึ้น นอกจากนี้ยังได้จำกัดอำนาจของบรรดาชนชั้นสูง(贵族) และบางนครรัฐได้ยกเลิกการปกครองของชนชั้นสูง และสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย(民主政治)ที่ทันสมัยที่สุดในสมัยโบราณโดยถือเอาอำนาจของประชาชนเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น