วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

司马迁与<史记> ซือหม่าเชียนกับพงศาวดาร “สื่อจี้” (บันทึกประวัติศาสตร์)

              
         ซือหม่าเชียน司马迁(145 ปีก่อนคริสต์ศักราช-?) ผู้เขียนพงศาวดาร “สื่อจี้ 史记”(บันทึกประวัติศาสตร์) เป็นคนมณฑลส่านซี陕西โดยกำเนิด ซือหม่าเชียนเป็นนักประวัติศาสตร์และนักวรรณคดีในสมัยราชวงศ์ซีฮั่น คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกของจีน ถือกำเนิดในครอบครัวปัญญาชนครอบครัวหนึ่ง บิดาของเขาเป็นขุนนางด้านประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่อายุ 10 ขวบซือหม่าเชียนก็เริ่มศึกษาวิชาวรรณคดีประวัติศาสตร์และคัมภีร์ของสำนักต่างๆ กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ในวัยเด็กซือหม่าเชียนก็เป็นคนช่างขบคิดเขามีความรู้ต่างๆ นานาเกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกเหนือจากสิ่งที่ได้บันทึกไว้ในตำรา สิ่งนี้เป็นเหตุให้ซือหม่าเชียนออกเดินทางจากกรุงฉางอานไปท่องเที่ยวดินแดนต่างๆอย่างกว้างขวาง เมื่อเขาเป็นวัยรุ่นอยู่ ก็ได้อ่านหนังสือโบราณมากมาย เมื่ออายุครบ 20 ปี เขาเริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวและศึกษาในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อน ต่อมา เขาได้รับตำแหน่งเป็นข้าราชการ สามารถติดตามพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปตามที่ต่าง ๆ ประสบการณ์เหล่านี้กลายเป็นรากฐานในการเขียนพงศาวดาร “สื่อจี้” ภายหลัง
                        
                       พงศาวดาร “สื่อจี้ 史记”(บันทึกประวัติศาสตร์)
          หลังจากบิดาของเขาถึงแก่กรรมแล้ว เขาได้ดำรงตำแหน่ง ไท่สื่อลิ่ง太史令 แทนบิดาของเขา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รับผิดชอบในการเขียนพงศาวดาร จึงมีโอกาสอ่านหนังสือมากมาย เมื่อ104 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซือหม่าเชียนเริ่มเขียนพงศาวดาร “บันทึกประวัติศาสตร์” อย่างเป็นทางการ ในระหว่างการเขียนพงศาวดารนี้ เขาถูกลงโทษอย่างหนักเพราะได้ล่วงเกินพระมหากษัตริย์ เนื่องจากซือหม่าเชียนเป็นผู้แก้ต่างให้กับขุนศึกที่ประสบความปราชัยคนหนึ่ง เมื่อ 99 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลี่หลิงขุนศึกของราชวงศ์ฮั่นนำทัพไปตีเผ่าซงหนูซึ่งอยู่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในช่วงแรกของการทำสงครามกองทัพของราชวงศ์ฮั่นประสบชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้งกษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่นก็มีความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแต่ต่อมากองทัพของราชวงศ์ฮั่นถูกเผ่าซงหนูโอบล้อมจนในที่สุดต้องยอมจำนน กษัตริย์ก็ทรงกริ้วมากและมีพระราชโองการให้จับตัวสมาชิกครอบครัวของหลี่หลิงเข้าคุกทันที ในยามนั้นบรรดาขุนนางต่างคอยตีซ้ำเติมและกล่าวใส่ร้ายหลี่หลิง มีแต่ซือหม่าเชียนผู้ซึ่งมีความซื่อตรงคนเดียวที่กล้าแก้ต่างให้กับหลี่หลิง แต่การแก้ต่างของซือหม่าเชียนก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความกริ้วให้แก่กษัตริย์ทำให้เขาถูกจับเข้าคุกและถูกลงโทษตัดอวัยวะเพศ การผันแปรครั้งใหญ่นี้ทำให้ซือหม่าเชียนมีความเจ็บปวดและอัปยศอย่างแสนสาหัส ซือหม่าเชียนจึงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เมื่อคำนึงถึงหนังสือของเขาที่ยังเขียนไม่เสร็จ จึงอดทนความยากลำบาก และเรียบเรียงหนังสืออย่างขยันหมั่นเพียร ในที่สุดเขาก็ได้เขียนพงศาวดาร “สื่อจี้”ขึ้นด้วยความสำเร็จ
                    
                                    หลี่หลิง 
          ต่อมากษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นได้สั่งให้ปล่อยตัวซือหม่าเชียนออกจากคุกและแต่งตั้งซือหม่าเชียนให้เป็นขุนนางชั้นสูงที่มีตำแหน่งสูงกว่าเดิม แต่จิตใจของซือหม่าเชียนในช่วงนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเสียแล้ว เขาคิดว่าตัวเองเป็นคนพิการคนหนึ่ง ความหมายและเป้าหมายแต่หนึ่งเดียวในชีวิตก็คือการรวบรวมสื่อจี้และขัดเกลาให้สำเร็จแล้วในที่สุดสื่อจี้สำเร็จลงอย่างงดงาม
          พงศาวดาร “สื่อจี้” แบ่งออกเป็น 130 บท เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าหวงจนถึงรัชสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้汉武帝 โดยเรียบเรียงถึงประวัติศาสตร์เป็นเวลา 3000 ปี เป็นพงศาวดารชุดแรกที่บันทึกตามกาลเวลา เนื้อเรื่องเกี่ยวโยงถึงการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การทหาร ฯลฯ ภาษาที่ใช้ในตัวบทกะทัดรัด เรียบง่ายและมีชีวิตชีวา พงศาวดาร “สื่อจี้” เป็นทั้งผลงานทางประวัติศาสตร์ที่ล้ำค่าและวรรณคดีที่ดีเลิศ

昭君出塞 นางจาวจวินออกเมืองแต่งงานดองญาติ

          
                                    หวังจาวจวิน(王昭君
หวังจาวจวินได้รับฉายานามว่า "ปักษีตกนภา" (落燕ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า"
            ในระหว่างสมัยราชวงศ์จิ๋น(秦朝)และราชวงศ์ฮั่น(汉朝) ชนเผ่าซงหนู(匈奴)ซึ่งเป็นชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนตามแหล่งอาหารเลี้ยงสัตว์ทางทิศเหนือของจีนได้มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รุกรานลงมาทางภาคใต้อยู่หลายครั้ง ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของจีน ในต้นสมัยราชวงศ์ฮั่น ประเทศยังไม่ค่อยเข้มแข็ง ไม่สามารถต่อสู้กับชาวซงหนูได้ จึงได้ดำเนินนโยบายการอภิเษกสมรส(和亲政策)เพื่อแสดงไมตรีจิตต่อกัน โดยมีจุดมุ่งหมายพักรบชั่วคราว ต่อมาด้วยการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการทหารของราชวงศ์ฮั่น เงื่อนไขที่ต่อสู้กับชาวซงหนูจึงได้ครบถ้วน ถึงสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝) พระองค์ได้ยกเลิกใช้นโยบายการอภิเษกสมรสและเริ่มโจมตีชนเผ่าซงหนูแทน จากนั้นมา 80 ปี ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(西汉)ไม่เคยสมรสกับชาวซงหนูอีกเลย
                  
                  พระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝)                 พระเจ้าฮั่นเซวียนตี้(汉宣帝)           
          ครั้นพระเจ้าฮั่นเซวียนตี้(汉宣帝)ขึ้นครองราชย์ อำนาจของซงหนู(匈奴)เสื่อมโทรมลง ขณะนั้นภายในชนเผ่าซงหนูได้เกิดปัญหาฉานหยู(单于)สองพระองค์แย่งชิงพระราชอำนาจกัน (ฉานหยูคือชื่อตำแหน่งประมุขของซงหนู) ฉานหยูองค์หนึ่งนามว่า “ฮูหันเสีย(呼韩邪)” ปรารถนาที่จะขอความสนับสนุนจากราชวงศ์ฮั่น และรวมชนเผ่าซงหนูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงตัดสินพระทัยสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮั่น ฮูหันเสีย เคยไปเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่นที่เมืองฉางอานถึงสองครั้ง ได้รับการต้อนรับอย่างใหญ่โตมโหฬาร และได้แสดงความยินยอมที่จะช่วยกันรักษาความมั่นคงตามชายแดนของจีนเมื่อ 36 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชสำนักฮั่นได้ยกพลไปบุกโจมตีฉานหยูอีกองค์หนึ่ง ฮูหันเสีย จึงสามารถรวมซงหนูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
              
                 ฮั่นหยวนตี้(汉元帝)          รูปปั้นแกะสลักของฮูหันเสียและหวังเจาจวินที่มองโกลใน
เมื่อ 33 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ฮูหันเสีย ได้มาเยือนเมืองฉางอันเป็นครั้งที่ 3 และมีพระประสงค์ที่จะเป็นราชบุตรเขยของราชวงศ์ฮั่นและฟื้นฟูการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์ฮั่นอีกครั้งหนึ่ง  พระเจ้าฮั่นหยวนตี้(汉元帝) ได้ทรงยอมรับคำขอร้องของฮูหันเสีย ฮูหันเสียหวังว่าพระเจ้าฮั่นหยวนตี้จะประทานพระธิดาองค์หนึ่งแก่เขา  พระเจ้าฮั่นหยวนตี้เห็นด้วยกับคำกราบทูลของฮูหันเสีย เเต่ไม่ยอมยกพระธิดาของตนไปอภิเษกกับชนชาติซงหนู  จึงตรัสบอกพวกสนมว่า ไม่ว่าใครอยากเเต่งงานกับหัวหน้าของซงหนูก็จะให้ผู้นั้นเป็นองค์หญิง พอหวังจาวจวิน(王昭君)ได้ยินข่าวนี้เเล้ว เธอก็ยินยอม เเต่งงานกับหัวหน้าของชนเผ่าซงหนู  พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ทรงดีพระทัยมาก เเละตกลงจัดงานอภิเษกสมรสระหว่างฮูหันเสียกับหวังจาวจวินที่เมืองฉางอานอย่างมโหฬาร
  

                                          หวังจาวจวิน(王昭君)
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ไม่ทรงได้เคยพบเห็นหวังจาวจวินเลยแม้แต่ครั้งเดียว แม้ในยามที่ทรงเลือกนางสนมใหม่จากภาพนางกำนัลที่ทรงมี และมีศักดิ์สูงพอที่จะเป็นพระสนม ภาพวาดของหวังจาวจวินก็ไม่ใช่ภาพที่นำเสนอความงามที่แท้จริงของนาง ดังนั้นจึงทรงมองข้ามนางไป เมื่อนางได้ไปปรากฏตัวในท้องพระโรง ความงามของนางถึงกับสะกดขุนนางทั่วทั้งท้องพระโรง รวมทั้งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้ด้วย จนพระองค์ถึงกับทบทวนแนวพระราชดำริที่จะส่งนางไปยังซงหนู
แต่กระนั้น พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ได้ทรงตกปากรับคำไปแล้วจึงไม่อาจที่จะคืนคำได้ ฮูหันเสีย ยินดีมากที่ได้ภรรยาสวยเหมือนนางฟ้า นางหวังจาวจวินทั้งสวยงามและฉลาด ได้รับความชื่นชอบจากฮูหันเสียเป็นอันมาก และได้รับพระราชทานนามว่า “นิ่งหูยานจือ(宁胡阏氏)” ซึ่งมีความหมายว่าจะผูกมิตรสัมพันธ์กับราชวงศ์ฮั่น
          
                            หวังจาวจวินเดินทางไปยังซงหนู
          หวังจาวจวินใส่ชุดสีเเดงขี่ม้าสีขาว เดินทางจากกรุงฉางอันภายใต้ การส่งของราชวงศ์ฮั่นกับซงหนู  ในระยะแรกเริ่มหวังจาวจวินไม่เคยชิน เเต่อีกไม่นานก็ได้อยู่ร่วมกับชาวซงหนูเป็นอย่างดี
หวังจาวจวินได้ใช้ชีวิตของตนที่เขตของชนเผ่าซงหนู เธอได้เผยเเพร่วัฒนธรรมชาวฮั่นให้เเก่ชนชาติชนเผ่าซงหนู ลูกหลาน ของเธอก็สืบทอดเจตนาของเธอ สร้างมิตรสัมพันธ์ระหว่างชาวฮั่นกับ ชาวซงหนู  ในเมืองฮูฮอทที่มองโกเลียในของจีน เรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องเล่าที่สืบ ทอดกันมาหลายชั่วคนรุ่นเเล้วรุ่นเล่า เเละกลายเป็นเนื้อหาสืบทอดกันมา ในกลอน เรื่องละครเเละนวนิยาย
                  

           

张骞出使西域 จางเชียนเดินทางไปยังดินแดนตะวันตก

         
                         张骞 จางเชียน
          ย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น(汉代) ของจีนซึ่งห่างจากปัจจุบันกว่า 2000 ปี ท่ามกลางเสียงกระดิ่งอูฐอันไพเราะจับใจระหว่างเส้นทางสายไหม(丝绸之路) ประเทศจีนได้ผูกความสัมพันธ์กับชนชาติต่าง ๆ ในดินแดนตะวันตกอย่างกว้างขวาง อารยธรรมตะวันออกกับอารยธรรมตะวันตก(中西文明)เริ่มมีการสัมผัสและผสมผสานกัน ครั้นรัชสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝) ชนเผ่าซงหนู(匈奴)จากทางเหนือของจีนมารุกรานชายแดนจีนเสมอ และยังได้ควบคุมประเทศเล็ก ๆ ในดินแดนตะวันตกถึงหลายสิบประเทศ 138ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ได้ทรงส่งจางเชียน(张骞)นำคณะราชทูตจำนวน 100 คน ไปเยือนประเทศทางทิศตะวันตก(出使西域)ของจีน โดยติดต่อกับประเทศต้าเอวี้ยจือ(大月氏เพื่อโจมตีชนเผ่าซงหนูทั้งข้างซ้ายและข้างขวา แต่พอจางเชียนเดินทางออกจากชายแดนก็ถูกชนเผ่าซงหนูจับกุม หัวหน้าเผ่าซงหนู่พอทราบวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปยังเขตตะวันตกในครั้ง นี้แล้ว จึงสั่งให้กักตัวจางเชียนพร้อมกับคณะและส่งตัวไปใช้แรงงานเป็นกุลี นอกจากนี้ยังจัดการหาภรรยาให้จางเชียนเพื่อที่จะให้จางเชียนเลิกล้มความ ตั้งใจเสีย แต่ว่าจางเชียนไม่เคยลืมภาระหน้าที่ของตนและไม่เคยละทิ้งความพยายาม ในระหว่างเวลาที่ถูกจับกุม เขาได้เรียนรู้ภาษาซงหนูและรู้จักสภาพทางภูมิศาสตร์ของซงหนูหลังจากที่ถูกซงหนูกักตัวเป็นเวลานานถึง 11 ปี จนฝ่ายซงหนูคลายความระวังเข้มงวด จางเชียนเห็นได้จังหวะ ก็นำสมาชิกในคณะหลบหนี พวกเขาเดินทางผ่านเขตของสาธารณรัฐอุซเบกิสถานในปัจจุบันไปจนถึงเขตของประเทศ เผ่าชนต้าเอวี้ยจือในที่สุด ต่อมา เมื่อรู้ว่ากษัตริย์ต้าเอวี้ยจือไม่อยากแก้แค้นชนเผ่าซงหนู จางเชียนจึงตัดสินใจกลับประเทศจีน 100 คนที่เดินทางไปพร้อมกับจางเชียนเหลือกลับถึงเมืองฉางอาน(长安)เพียง 2 คน
                                                           
                                     พระเจ้าฮั่นอู่ตี้(汉武帝)                      
                
                              จางเชียนเดินทางไปยังดินแดนตะวันตก          
          จางเชียนเกิดในมณฑลส่านซี เป็นคนซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ และเป็นคนที่มีจิตใจชอบการผจญภัย งานการทูตครั้งนี้นับว่าเป็นงานที่มีความยากลำบาก เพราะว่าต้องผ่านเขตของเผ่าชนซงหนูที่เป็นอริกับจีนและดินแดนทุรกันดารต่างๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศอันเลวร้าย ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไปจะสามารถทำได้
          119 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ฮั่นอู่ตี้ทรงส่งจางเชียนไปเยือนดินแดนตะวันตกอีกครั้งโดยมีผู้ติดตาม 300 คนพร้อมทั้งวัวกับแพะกว่าหมื่นตัวและสินค้าต่าง ๆ ด้วย จางเชียนกับคณะราชฑูตได้เยือนประเทศต่าง ๆ มากมาย ประเทศเหล่านี้ก็ได้ส่งคณะฑูตนำของขวัญมาเยือนประเทศจีนด้วย ตั้งแต่นั้นมา การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ฮั่นกับประเทศดินแดนตะวันตกนับวันจะบ่อยครั้งยิ่งขึ้น ต่อมา ราชวงศ์ฮั่นได้จัดตั้งซีหยู้ตูหู้ฝู่(西域部护府)ที่เขตซินเจียง(新疆)ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่ขึ้นต่อรัฐบาลกลาง(中央政府) โดยมีหน้าที่ดูแลกิจการงานเกี่ยวกับประเทศดินแดนตะวันตก
          การที่จางเชียนออกราชทูตถึงดินแดนตะวันตกนั้นได้บุกเบิกเส้นทางสายไหมที่ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและโลกตะวันตก เส้นทางสายไหมเริ่มจากเมืองฉางอานในทิศตะวันออก ไปยังทิศตะวันตกถึงฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน(中海东岸)ท้ายสุดไปถึงจักรวรรดิโรมัน(罗马帝国) กองคาราวานของราชวงศ์ฮั่น(汉朝的商队)ได้นำสิ่งทอด้วยไหมจีนไปแลกเปลี่ยนกับชาวเปอร์เซีย(波斯人) ชาวอินเดีย(印度人)และชาวโรมัน(罗马人) และได้นำสินค้าต่างประเทศ เช่นวอลนัต(核桃) องุ่น(葡萄) แครอท(胡萝卜) ฯลฯ กลับมายังประเทศจีน หลายศตวรรษต่อจากนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและโลกตะวันตกโดยการค้าผ้าไหมเป็นหลักส่วนมากดำเนินผ่านทางเส้นทางสายไหม นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมกับโลกซีกตะวันตกมากยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยให้พุทธศาสนาแพร่เข้าสู่จีนในเวลาต่อมา จางเชียนเป็นผู้บุกเบิกยุคแห่งการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตก ผู้คนยังคงกล่าวขวัญและนับถือจิตใจอันสูงส่งของจางเชียนที่แม้จะผ่านความยาก ลำบากสุดประมาณแต่ก็ไม่ย่อท้อกลับมีแต่ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ไม่หวั่นไหว
** เส้นทางสายไหม (“丝绸之路)
             
คำว่าเส้นทางสายไหม” เพิ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการในกลางศตวรรษที่ 19  โดยนัก
ปราชญ์ชาวเยอรมัน   นาม Baron Ferdinand von Richthofen เป็นผู้บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาจนเป็นที่ยอมรับถึงแม้จะมีคนพยายามเรียกเป็นอย่างอื่น อย่างเส้นทางหยก เส้นทางอัญมณี เส้นทางพุทธศาสนา เป็นต้น เส้นทางนี้ เริ่มจากทางตะวันออกที่เมืองฉางอัน หรือซีอันในปัจจุบันของประเทศจีนไปสิ้นสุดที่ยุโรป ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)เส้นทางบนบกนั้น แนวเส้นทางหลัก ๆเฉพาะในประเทศจีนแยกเป็นสามเส้นทาง และจากเมืองหลักของแต่ละเส้นทางจะมีเส้นทางแยกย่อยออกไปเหมือนเครือข่ายใยแมงมุมซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง วัฒนธรรมในแต่ละยุค แต่เส้นทางในประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเส้นทางทางเหนือจากซีอันสู่ระเบียงเหอซี ก่อนแยกไปทางรัสเซีย อินเดีย และตะวันออกกลาง

汉武大帝 พระเจ้าฮั่นอู่ตี้

            
                                  พระเจ้าฮั่นอู่ตี้หลิวเช่อ(汉武帝刘彻)
            พระเจ้าฮั่นอู่ตี้หลิวเช่อ(汉武帝刘彻) ได้ครองบัลลังก์จาก 156 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง 87 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หลิวเช่อ(刘彻) เป็นพระนามเดิมของพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 16 พรรษา ปกครองราชวงศ์ฮั่น นานถึง 54 ปี คุณงามความดีของพระองค์ในด้านปกครองบ้านเมืองและด้านการทหารทำให้ราชวงศ์ฮั่น(汉朝)กลายเป็นจักรวรรดิที่เข้มแข็ง เกรียงไกรที่สุดจักรวรรดิหนึ่งของโลกในสมัยนั้น
                           
               พระเจ้าหลิวปัง(刘邦)                                     ต่งจ้งซู(董仲舒)   
          ในต้นสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าหลิวปัง(刘邦)ได้ทรงแต่งตั้งให้พี่น้องนามสกุลเดียวกันไปเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรักษาอำนาจของเชื้อสายตนเอง อำนาจของผู้ครองแคว้นต่าง ๆ มีมากพอสมควร ซึ่งสามารถมีสิทธิ์ในการจัดตั้งทหารส่วนตัว การเก็บภาษีอากร(征收租税) การหล่อเหรียญกษาปณ์(铸造钱币) การแต่งตั้งและยกเลิกตำแหน่งขุนนางภายในเขตใต้สังกัดได้ ต่อมาอำนาจของเจ้าแคว้นต่าง ๆ มีมากเกินความสมควร จนกลายเป็นการคุกคามต่ออำนาจศูนย์กลาง ฉะนั้น ครั้นพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้บัญญัติราชโองการให้เจ้าผู้ครองแคว้นมีสิทธิ์ที่จะมอบที่ดินให้กับลูกหลานและสถาปนาแคว้นของตนเองขึ้น ซึ่งเรียกว่า ทุยเอินลิ่ง(推恩令) ด้วยพระราชโองการฉบับนี้ แต่ละแคว้นได้แบ่งออกเป็นแคว้นขนาดเล็กต่าง ๆ จึงได้ลดอำนาจเดิมลง ต่อมาพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ยังได้ทรงยกเลิกบรรดาศักดิ์ของเจ้าผู้ครองแคว้นขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจึงได้ลดการคุกคามจากท้องถิ่นลงและส่งเสริมให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(中央集权制度)มั่นคงยิ่งขึ้น
            
                      หลี่กว่าง(李广)                                               เว่ยชิง(卫青  
                            
                                                  หั้วชี่ปิ้ง(霍去病)
          ในยุคสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ ต่งจ้งซู(董仲舒) บัณฑิตจากสำนักปรัชญาขงจื้อ(儒家) ได้ปรับปรุงและพัฒนาแนวความคิดของลัทธิขงจื๊อเพื่อตอบสนองความต้องการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังนี้ประการแรก ยกย่องให้สวรรค์มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งในโลก พระมหากษัตริย์เป็นโอรสแห่งสวรรค์ ทรงปกครองราษฎรในนามของสวรรค์ ฉะนั้น ราษฎร์ทั้งหลายจำเป็นต้องเชื่อฟังต่อการปกครองของพระมหากษัตริย์ เจ้าขุนมูลนายจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระมหากษัตริย์ด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการรวมอำนาจแบบใหญ่หลวง ประการที่สอง ยกย่องคำสอนของลัทธิขงจื๊อให้เป็นแนวคิดหลักของประเทศจีน เปิดสอนและเผยแพร่ลัทธิขงจื๊อเพียงวิชาเดียว ห้ามมิให้วิชาและความคิดอื่น ๆ เผยแพร่ในประเทศ เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งด้านความคิดและด้านการปกครองด้วย
          พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ได้ทรงรับข้อเสนอแนะของต้งจ้งซู   บัณฑิตที่เลื่อมใสต่อปรัชญาของขงจื๊อจำนวนมากมายได้รับตำแหน่งเป็นขุนนางชั้นสูงในราชสำนักฮั่น(汉朝政府) ตั้งแต่นั้นมา ลัทธิขงจื๊อได้กลายเป็นแนวความคิดหลักเรื่อยมาในสมัยสังคมศักดินาของจีนเป็นเวลา 2000 ปี
          พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ ได้ทรงพัฒนาอำนาจด้านการทหารส่วนกลางให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยจัดตั้งกองทหารประจำส่วนกลางขึ้น พระองค์ได้ทรงให้ราษฎรจำนวนมหาศาลอพยพและไปตั้งถิ่นฐานเขตชายแดนภาคเหนือ(北方边塞地区) เพื่อพัฒนากำลังทหารในการป้องกันชายแดน ตั้งแต่ 133 ปีก่อนคริสต์ศักราช แม่ทัพชื่อดังสามคนคือ หลี่กว่าง(李广) เว่ยชิง(卫青) และหั้วชี่ปิ้ง(霍去病)ได้นำกองทัพออกไปโจมตีชนเผ่าซงหนู(匈奴) ซึ่งมักจะมารุกรานประเทศจีนอยู่เสมอ ด้วยสงครามขนาดใหญ่สามครั้ง ราชวงศ์ฮั่นถึงได้ชัยชนะโดยสิ้นเชิง พระองค์ยังทรงส่งกองทัพไปไกลถึงเขตชายแดนและเอเชียกลาง(亚洲腹地)หลายครั้ง ได้ขยายอาณาเขตของราชวงศ์ฮั่นออกไปอย่างรวดเร็ว
          พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ได้ทรงส่งคณะราชทูตนำโดยจางเชียน(张骞)ไปยังดินแดนตะวันตก 2 ครั้ง ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ฮั่นและประเทศต่าง ๆ ในดินแดนตะวันตก ในบันทึกเกี่ยวกับดินแดนตะวันตกที่จางเชียนยื่นต่อพระเจ้าฮั่นอู่ตี้นั้น ได้กล่าวถึงจักรวรรดิโรมัน(罗马帝国) ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางสายไหมจีน(中国丝绸出口)
          ความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ฮั่นทำให้ชาวจีนถูกเรียกกันว่า ชาวฮั่นหรือชนชาติฮั่นอย่างแพร่หลายแทนที่ถูกเรียกว่า ชาวจิ๋น พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ได้รับการยกย่องเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่งหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)

刘邦与项羽 หลิวปังและเซี่ยงอวี่

                      
                                     เฉินเซิ่ง(陈胜)และอู๋กว่าง(吴广)
       หลังจากที่การปฏิวัติของเฉินเซิ่ง(陈胜)และอู๋กว่าง(吴广)ได้พ่ายแพ้ลงนั้น หลิวปัง(刘邦)และเซี่ยงอวี่(项羽)ได้นำชาวนา(农民)ทำการต่อต้านการปกครองของราชวงศ์จิ๋น(秦朝)ต่อไป ในปี 207 ก่อนคริสต์ศักราช เซี่ยงอวี่(项羽)อาศัยกำลังพลที่น้อยกว่ารบชนะกองทัพใหญ่ปราบกองกำลังหลักของกองทัพจิ๋นได้ที่จวี้ลู่(巨鹿(ปัจจุบันอยู่ที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของผิงเซียง(平乡) มณฑลเหอเป่ย(河北)) ในขณะเดียวกัน หลิวปังก็นำทหารไปบุกเมืองเสียนหยาง(咸阳) สุดท้ายผู้ปกครองของราชวงศ์จิ๋นต้องยอมแพ้ต่อหลิวปัง ราชวงศ์จิ๋นจึงล่มสลายลงในเวลาต่อมา
                               
                             หลิวปัง(刘邦)                           เซี่ยงอวี่(项羽)     
          หลังจากที่ราชวงศ์จิ๋นล่มสลายลงแล้ว เซี่ยงอวี่ก็ขนานนามตนเองว่าเป็น ฉู่ป้าอ๋อง(楚霸王) และแต่งตั้งให้หลิวปังเป็นฮั่นอ๋อง(汉王) ตั้งแต่ปี 206 ก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา เซี่ยงอวี่และหลิวปังทำสงครามต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงกันเป็นพระมหากษัตริย์มาเป็นระยะเวลานานเกือบ 4 ปี ทางประวัติศาสตร์เรียกว่า “สงครามฉู่ฮั่น(楚汉战争)” ในตอนต้นของสงคราม เซี่ยงอวี่มีกองทัพที่เข้มแข็ง มีกำลังพลทั้งหมด 4 แสนคน ส่วนหลิวปังมีกำลังพลแค่ 1 แสนคน แต่ว่าหลิวปังใส่ใจความทุกข์ยากลำบากของประชาชน ตอนที่บุกเข้าเมืองเสียนหยาง เขาได้ประกาศยกเลิกกฏหมายที่โหดเหี้ยมของราชวงศ์จิ๋น และได้ประกาศใช้กฎหมาย 3 ข้อแทน คือ ฆ่าคนต้องได้รับโทษประหารชีวิต ทำร้ายร่างกายคนอื่นและลักขโมยล้วนมีความผิด นอกจากนี้หลิวปังยังให้ความสำคัญกับผู้มีความสามารถ เข้าได้รับความช่วยเหลือจากเซียวเหอ(萧何)จางเหลียง(张良) และหานซิ่น(韩信ฯลฯ ทั้งยังมี “กวานจง(关中)” ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรเอาไว้เป็นฐานทัพ เพราะฉะนั้น กองทัพฮั่นซึ่งมีหลิวปังเป็นผู้นำจึงได้ค่อย ๆ เข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ในทางตรงกันข้าม เซี่ยงอวี่กลับเป็นคนยโสโอหังและถือดี ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ปล่อยให้ทหารใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎรได้ตามอำเภอใจ ซึ่งทำให้ประชาชนผิดหวังในตัวเขาเป็นอย่างมาก
              
                                            “สงครามฉู่ฮั่น(楚汉战争)”
          ในปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังนำกองทัพรบกับเซี่ยงอวี่ กองทัพของหลิวปังปิดล้อมกองทัพเซี่ยงอวี่ที่ไกเซี่ย(垓下) (ปัจจุบัน อยู่ในมณฑลอันฮุย(安徽)) ตกกลางคืน เซี่ยงอวี่ได้ยินเพลงฉู่ของค่ายกองทัพฮั่นดังมาจากทุกทิศทุกทาง ทำให้เขาตกใจเป็นอย่างมาก นึกเอาเองว่าดินแดนของฉู่ถูกกองทัพฮั่นยึดไว้ได้ทั้งหมดแล้ว เซี่ยงอวี่จึงได้ลากับอวี๋จี(虞姬)สนมคนโปรดอย่างเศร้าสลด นำทหารม้า 800กว่านาย ฝ่าวงล้อมหนีออกไป เมื่อเป็นเช่นนี้ กองทัพฮั่นจึงได้ออกตามล่า เหตุการณ์คับขัน สุดท้ายเซี่ยงอวี่ฆ่าตัวตายที่ริมแม่น้ำอูเจียง(乌江)(ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเหอเสี้ยน(和县)มณฑลอันฮุย(安徽)) ถึงแม้ว่าเซี่ยงอวี่จะพ่ายแพ้ แต่ว่าคนรุ่นหลังยังคงชื่นชมความอาจหาญของเขา หลี่ชิงจ้าวเขียนกลอนบทหนึ่งว่า “ขณะมีชีวิตขอเป็นวีรบุรุษ ตายแล้วก็ยังขอเป็นผีอาจหาญ จวบปัจจุบันยังนึกถึงเซี่ยงอวี่ ที่ไม่ยอมข้ามแม่น้ำไปฝั่งตะวันออก(生当作人杰,死亦为鬼雄,至今思项羽,不肯过江东。)” กลอนบทนี้แสดงถึงความระลึกถึงที่กวีมีต่อเซี่ยงอวี่ผู้เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
                        

                              อวี๋จี(虞姬)                                     เซียวเหอ(萧何)

                        
                          จางเหลียง(张良)                                   หานซิ่น(韩信)
          หลังจากที่หลิวปังรบชนะเซี่ยงอวี่แล้ว ก็ได้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น ตั้งเมืองหลวงที่ฉางอาน(长安)(ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอัน(西安)) เรียกชื่อประเทศว่า “ฮั่น()” ในทางประวัติศาสตร์เรียกว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(西汉) (ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช ปี ค.ศ.8) หลิวปังก็คือพระเจ้าฮั่นเกาจู่(汉高祖)

大泽乡起义 การปฏิวัติหมู่บ้านต้าเจ๋อ

    
          ในปี 210 ก่อนคริสต์ศักราช จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇)ได้สิ้นพระชนม์ลงในระหว่างที่ออกเดินทางท่องเที่ยว โอรสของจิ๋นซีฮ่องเต้ชื่อว่า “หูไฮ่(胡亥)” ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ มีพระนามว่าพระเจ้าจิ๋นที่สอง(秦二世) พระเจ้าจิ๋นที่สองมีนิสัยโหดเหี้ยม ชาวบ้านล้วนเกลียดชังพระเจ้าจิ๋นที่สองเป็นอย่างมาก สภาวะทางสังคมในขณะนั้นวุ่นวายไม่สงบ
          
                  “หูไฮ่(胡亥)”                                 เฉินเซิ่ง(陈胜)และอู๋กว่าง(吴广)
          ในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวนาผู้ยากไร้จำนวน 900 กว่าคนถูกบังคับให้ไปเฝ้าประจำการป้องกันชายแดน ในระหว่างทาง เนื่องจากเจอฝนตกหนัก จึงติดฝนอยู่ที่หมู่บ้านต้าเจ๋อ(大泽) (ปัจจุบันอยู่ที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของซู่โจว มณฑลอันฮุย(安徽宿州东南)) ส่งผลให้ไม่สามารถไปถึงชายแดนได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ ตามกฎหมายของราชวงศ์จิ๋น การผิดเวลามีโทษถึงตาย ชาวนาจึงจำเป็นต้องหาทางเพื่อเอาชีวิตรอด ในช่วงเวลานี้ เฉินเซิ่ง(陈胜)และอู๋กว่าง(吴广)ได้ร่วมกันวางแผนฆ่านายทหารที่คุมพวกเขาเดินทางมาด้วยกัน และได้ก่อการปฏิวัติ(起义)ขึ้น   
          เพื่อให้ผู้คนเชื่อว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นบัญชาสวรรค์ เฉินเซิ่งและอู๋กว่างได้สั่งคนให้เขียนคำว่า“อ๋องเฉินเซิ่ง(陈胜王)” ไว้บนเศษผ้าไหมแล้วใส่ไว้ในพุงปลา เมื่อพวกทหารซื้อปลามา พบว่ามีผ้าไหมอยู่ข้างใน จึงแปลกใจเป็นอย่างมาก ส่วนอู๋กว่างก็สั่งคนให้ทำเสียงเลียนแบบสัตว์ ร้องว่า “ฉู่จงเจริญ อ๋องเฉินเซิ่ง(大楚兴,陈胜王)” เมื่อผู้คนได้ยินเข้า ก็ยิ่งรู้สึกอัศจรรย์ใจ เฉินเซิ่งจึงร้องอย่างฮึกเหิมว่า “พวกกษัตริย์และขุนนางพวกนั้นไม่ได้เป็นเมล็ดพันธุ์จากสวรรค์หรอก(王侯将相,宁有种乎!)” และกบฏชาวนาครั้งใหญ่ครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์จีนก็ได้เริ่มขึ้น ณ หมู่บ้านต้าเจ๋อ กองทัพปฏิวัติได้รบชนะหลายเมืองในบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว กองกำลังได้เพิ่มขยายเป็นหลายหมื่นคนภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน เฉินเซิ่งได้ตั้งตัวเป็นอ๋องที่เฉินตี้(陈地) (ปัจจุบันคือหวยหยาง มณฑลเหอหนาน(河南淮阳)) อาณาจักรชื่อว่า “จางฉู่(张楚)” หลังจากนั้น กองกำลังหลักก็ได้บุกไปทางตะวันตก เดือนกันยายนปีเดียวกันบุกตีด่านหานกู่(函谷关)แตก บุกไปถึงบริเวณใกล้ ๆ ของเมืองเสียนหยาง(咸阳)(เมืองหลวง) กองกำลังเพิ่มขึ้นเป็นหลายแสนคน
            
                   จางหาน(章邯)                                          ภูเขาลี่ซัน(骊山)
          เมื่อพระเจ้าจิ๋นที่สองได้ทรงทราบว่ากองทัพปฏิวัติบุกเข้าด่านมาแล้ว พระองค์ทรงรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระเจ้าจิ๋นที่สองทรงจัดกำลังทัพไม่ทัน จึงได้ส่งจางหาน(章邯)นำกองกำลังหลายแสนคนซึ่งกำลังสร้างสุสานที่ภูเขาลี่ซัน(骊山)ให้ไปรับมือก่อน สุดท้ายกองทัพนี้ก็ได้มีชัยชนะเหนือกองกำลังหลักของกองทัพปฏิวัติ ต่อมาไม่นานอู๋กว่างก็ถูกแม่ทัพฆ่าตาย เฉินเซิ่งก็ถูกผู้ทรยศฆ่าตาย ถึงแม้ว่ากองทัพปฏิวัติจะดำเนินมาอย่างยากลำบากเกือบครึ่งปี แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพจิ๋นปราบลง